ควรเลือกโฟมล้างหน้าลดสิวแบบไหน ส่วนผสมอะไรที่ควรและไม่ควรมี
ปัจจุบันมีโฟมล้างหน้ามากมายหลายแบบ แล้วแบบนี้เราจะมีเกณฑ์ในการเลือกใช้อย่างไร สารอะไรที่ควรและสารอะไรที่ไม่ควรจะมี มาดูกันว่าควรเลือกโฟมล้างหน้าลดสิวแบบไหนดี
สรุปโดยย่อ:
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน:
โฟมล้างหน้าลดสิวควรเลือกแบบไหน ส่วนผสมอะไรที่ควรมีและไม่ควรมี?
หลาย ๆ คนคงกำลังมองหา โฟมล้างหน้าลดสิว อยู่ แต่ในปัจจุบันมีโฟมล้างหน้ามากมายหลายแบบให้เลือก ทั้งแบบควบคุมความมันได้ ลดสิวได้ ลดรอยสิวก็ได้ แล้วแบบนี้เราจะมีเกณฑ์ในการเลือกใช้อย่างไรดี สารอะไรที่ควรจะมี และสารอะไรที่ไม่ควรจะมี บทความนี้เราจะมาพูดถึงส่วนผสมของโฟมล้างหน้า เพื่อให้ทุกคนสามารถเลือกโฟมล้างหน้าที่เหมาะสมกับตัวเองได้มากที่สุดกัน
สิวเกิดจากอะไร
สิวเกิดจากหลากหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดสิว ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอก อย่างเช่น ฝุ่นควัน มลภาวะ รังสี UV รวมไปถึงสภาพอากาศ เช่น อากาศร้อน ที่ส่งผลให้ต่อมไขมันทำงานมากกว่าปกติ การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล นอกจากนี้ยังมี ปัจจัยภายใน อาทิ ความเครียดสะสม การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ และปัจจัยทางกรรมพันธุ์ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เอื้อต่อกลไกการเกิดสิว 4 ข้อดังนี้
1.การผลิตเซลล์ผิวที่มากผิดปกติ
2.การผลิตน้ำมันที่มากผิดปกติของต่อมไขมัน
3.ความไม่สมดุลของแบคทีเรียและจุลินทรีย์ที่อยู่บนผิว
4.เกิดการอักเสบ และติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
และเมื่อผิวเกิดการอักเสบขึ้น ระดับ เซราไมด์ที่อยู่ในผิวจะมีปริมาณลดลง จึงเอื้อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ดังนั้นหากเราต้องการจัดการกับปัญหาสิว ควรดูแลให้ครบทุกกลไกการเกิดสิว และต้องมีการจัดการที่ต้นเหตุที่สำคัญนั่นก็คือความันส่วนเกิน จัดการกับสมดุลของแบคทีเรีย อีกทั้งต้องทำให้ชั้นปราการผิวแข็งแรง เพื่อให้ผิวไม่ง่ายต่อการติดเชื้อนั่นเอง
โฟมล้างหน้าลดสิวควรมีหรือไม่มีส่วนผสมอะไร
การจัดการกับปัญหาสิวและหน้ามันเราสามารถแบ่งกลุ่มส่วนผสมต่าง ๆ ที่ควรจะมีและไม่ควรมีในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการดูแลปัญหาสิวและผิวมัน ได้ดังนี้
ส่วนผสมที่ควรมี
- สารกลุ่มที่ช่วยควบคุมความมันเช่น Zn PCA, Airlicium หรือ สารที่มาจากธรรมชาติอย่างเช่น Clay เช่น Hectorite Clay ที่เข้าไปดูดซับความันส่วนเกินบนใบหน้าได้ และเมื่อความมันบนใบหน้าลดลง ก็จะมีส่วนช่วยให้ลดโอกาสที่จะเกิดสิวได้ด้วย
- สารกลุ่มที่ช่วยสลายสิ่งอุดตันในรูขุมขน อย่างเช่น Salicylic acid หรือที่เรารู้จักกันในนาม BHA ซึ่งสารตัวนี้จะมีความชอบหรือละลายในไขมันได้ดี จึงสามารถซึมเข้าสู่ต่อมไขมันได้ดีกว่ากรดชนิดอื่นๆ และสามารถที่จะสลายสิ่งอุดตันที่อยู่ในรูขุมขนได้ดีเป็นพิเศษ นอกจากนี้ Salicylic acid ยังมีคุณสมบัติพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือสามารถรบกวนการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ด้วย
- สารกลุ่มที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวอื่นๆ สารจำพวก PHA หรือ AHA อย่างเช่น Glycolic acid และ Lactic acid ที่ช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วที่ผิวชั้นบนออก จึงมีส่วนช่วยในการลดรอยสิว และทำให้ผิวดูกระจ่างใส
- สารที่ช่วยทำให้ปราการผิวแข็งแรงอย่างเช่น เซราไมด์ ชนิดที่จำเป็นต่อผิว ซึ่งก็คือ Ceramide 1,3,6-II ที่เข้าไปเสริมชั้นปราการผิว ทำให้ปราการผิวแข็งแรงและยากต่อการที่แบคทีเรียตัวร้ายจะเข้ามาโจมตี
ส่วนผสมที่ควรหลีกเลี่ยง
- สารที่ช่วยผลัดผิวชนิดกายภาพเช่น สครับ หรือ เม็ดบีดส์ ต่างๆ เพราะการสครับผิวจะทำให้ชั้นปราการผิวถูกทำลาย ช่วงแรกๆ อาจรู้สึกว่าสิวอุดตันหรือสิวเสี้ยนหายไป แต่ในระยะยาวเมื่อชั้นปราการผิวถูกทำลายจากการสครับ จะทำให้เป็นสิวได้ง่ายขึ้น และมีโอกาสติดเชื้อ อักเสบได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีเม็ดบีดส์ ทำให้มีความเสี่ยงที่ผิวจะแห้ง ลอกเป็นขุย เพราะปราการผิวถูกทำลายอีกด้วย
- ออยที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ 🗴ผลิตภัณฑ์บางชนิดอาจใส่ออย หรือน้ำมันบางชนิดเข้ามาเพื่อให้เนื้อสัมผัสดี เช่น สารกลุ่มซิลิโคน แต่สุดท้าย คือมีโอกาสทำให้เกิดการอุดตันมากยิ่งขึ้น เสี่ยงที่จะทำให้สิวมีความรุนแรงมากขึ้นได้ด้วยย
- คลีนเซอร์ ที่มีความเป็นด่าง หรือ pH ไม่สมดุล หรือ มีสารสบู่บางคนอาจบอกว่า จะดูอย่างไร เพราะคลีนเซอร์รักษาสิวส่วนใหญ่ก็อาจจะไม่ได้มีการบอกว่า pH เป็นเท่าไรหรือปราศจากสารสบู่หรือไม่ ซึ่งจริงๆ วิธีสังเกตง่ายๆคือ เวลาล้างเสร็จแล้ว ต้องสัมผัสได้ว่า ผิวหน้าไม่แห้งตึง ไม่เอี๊ยดผิว รวมทั้งจะต้องล้างออกง่ายด้วย ไม่มีสารตกค้างบนผิวส
- สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงเกินไป🗴เช่น ในคลีนเซอร์ที่มีส่วนผสมของ Benzoyl peroxide ที่มากกว่า 4% เพราะอาจทำให้ระคายเคืองผิวได้ หรือการจัดการกับเชื้อแบคทีเรียจนหมดไปจากใบหน้าเลย ก็จะทำให้สมดุลของไมโครไบโอมเสียไปด้วย โอกาสที่สิวจะกลับมาเป็นซ้ำจะง่ายมากขึ้น
- โทนเนอร์หรือเซรั่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์🗴อาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ โดยเฉพาะถ้ามีการใช้ยาสิวร่วมด้วย
การเลือกใช้โฟมล้างหน้าลดสิวอย่างไรให้เหมาะกับผิวของแต่ละคน
เซราวี เวชสำอางที่แพทย์ผิวหนังในสหรัฐอเมริกาแนะนำเป็นอันดับหนึ่ง จึงออกแบบโฟมล้างหน้าให้เหมาะกับสภาพผิว และปัญหาผิวที่แตกต่างกันไปในแต่ละคนดังนี้
1. โฟมล้างหน้าลดสิวเซราวี เบลมมิช คอนโทรล คลีนเซอร์ ด้วยส่วนผสมของ 2% Salicylic acid ที่เข้าสลายสิ่งอุดตันในรูขุมขนได้อย่างล้ำลึก อีกทั้ง Hectorite Clay ที่เข้าดูดซับน้ำมันส่วนเกินบนผิว1 ช่วยลดความมันบนใบหน้าซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิว นอกจากนี้ยังมี เซราไมด์ที่จำเป็นต่อผิว 3 ชนิด คือ เซราไมด์ 1,3,6-II ที่ช่วยทำให้ปราการผิวแข็งแรง ด้วยการทำงานของส่วนผสมต่างๆเหล่านี้จึงทำให้ความมันดูลดลง1 สิวลดลงใน 7 วัน2,3 อีกทั้งเสริมปราการผิวให้แข็งแรงอีกด้วย
2. โฟมล้างหน้าเพื่อใช้คู่กับยาสิวเซราวี โฟมมิ่ง คลีนเซอร์ ทำความสะอาดได้อย่างสะอาดหมดจด ฟองโฟมนุ่ม ทำความสะอาดได้ลำลึก เหมาะสำหรับผิวผสม-ผิวมัน และยังมีงานวิจัยด้วยว่า สามารถใช้ร่วมกับยารักษาสิวได้อย่างปลอดภัย4ย
3. โฟมล้างหน้าลดสิวผด ขนคุด ผิวเรียบเนียนเซราวี เอสเอ สมูธติ้ง คลีนเซอร์่เป็นสูตรอ่อนโยนเหมือนสองสูตรแรกเลย แต่จะเหมาะกับคนที่มีผิวแห้ง มีสิวผดเม็ดเล็กๆ หรือขนคุดตามลำตัว ซึ่งคลีนเซอร์สูตรนี้มีส่วนผสมของ ซาลิไซลิก แอซิด และ PHA ที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่หมองคล้ำและช่วยเผยผิวกระจ่างใสได้เร็วยิ่งขึ้น โดยที่ไม่ทำร้ายชั้นปราการผิว
โฟมล้างหน้าจากเซราวีทั้ง 3 สูตร เหมาะสำหรับผิวบอบบางมีแนวโน้มระคายเคืองง่าย Hypoallergenic ให้เนื้อสัมผัสฟองโฟมนุ่ม สบายผิว ไม่ทำให้เกิดการอุดตัน (non-comedogenic) มีค่า pH Balance เหมาะกับผิวสุขภาพดี อีกทั้งปราศจากปัจจัยที่จะทำให้เกิดการระคายเคือง เพราะ ปราศจากน้ำหอม, สารแต่งสี และ สารกันเสียพาราเบน
สรุป
เพราะสิวเกิดจากปัจจัยที่หลากหลาย ความมันส่วนเกิน การอุดตันรูขุมขน สมดุลของแบคทีเรียและ การอักเสบ การจัดการกับสิวตั้งแต่ขั้นตอนการล้างหน้าจึงเป็นการดูแลผิวที่ถูกวิธีตั้งแต่ขั้นตอนแรก โฟมล้างหน้าลดสิว ที่ดีจึงควรจัดการกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิวได้อย่างครบถ้วน และควรหลีกเลี่ยงส่วนผสมบางชนิดที่กล่าวไว้ข้างต้นเพื่อลดการทำลายชั้นปราการผิว นอกจากนี้การดูแลปราการผิวให้แข็งแรงด้วยเซราไมด์ที่จำเป็นกับผิวก็จะทำให้ลดโอกาสที่จะเกิดสิวอักเสบรุนแรงได้อีกด้วย
1. ความมันส่วนเกินบนใบหน้า
2.ผลการทดสอบความพึงพอใจในอาสาสมัคร 57 คน หลังใช้ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง 1 สัปดาห์ โดยสถาบันวิจัยลอรีอัล ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ กุมพาพันธ์ 2021
3.ผลการทดสอบทางคลินิกด้วยวิธี expert grader ในอาสาสมัคร 46 คน หลังใช้ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง 1 สัปดาห์ โดยสถาบันวิจัยลอรีอัล ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ กุมพาพันธ์ 2021
4.Protocol: A 12-week, single center, randomized, double-blind clinical study was conducted on 91 women and men, ages 13 - 40. Subjects were prescribed Adapalene (0.3%)/Benzoyl Peroxide(2.5%) Gel. The adjunctive treatment cell used Foaming Cleanser and PM Facial Moisturising Lotion.